วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่ม 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้...

วันนี้อาจารย์ให้ทำ My Map สรุปความรู้ที่ได้รับในวิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ว่าในขณะที่เรียนมา 1 เทอม เราได้ความรู้อะไรบ้าง และตอนท้ายคาบอาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบด้วยค่ะ

ผลงานสรุปความรู้ที่ได้เรียนมาใน 1 เทอมค่ะ




วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอนในวิชานี้ค่ะ 

การนำความรู้ไปใช้...

1. สามารถนำความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนมาไปใช้ในอนาคตได้
2. สามารถนำความรู้ที่ได้เรียน มาต่อยอดเข้ากับวิชาอื่นได้


ปิดคอร์ส






ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่ม 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้...

วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษ กลุ่มละ 2 แผ่น เพื่อให้เขียนแผนการสอน กลุ่มละ 1 หน่วย โดยแผ่นแรกอาจารย์ให้เขียนออกมาเป็น My Mapping ก่อน ซึ่งมีหัวข้อดังนี้ ชื่อหน่วย ที่มา รสชาติ ประโยชน์ นิทานและ เพลง กลุ่มของดิฉันเลือกทำ หน่วยนม

ที่มา : มาจากสัวต์ เช่น วัว ควาย แพะ อุฐ จามรี มาจากพืช เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด งา 

รสชาติ : เช่น สตอเบอรรี่ ช็อตโกแลต ส้ม กาแฟ วานิลลา นมเปรี้ยว

ประโยชน์ : 1. ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง  2. สร้างภูมิคุ้มกัน  3. มีแคลเซียม  4. บำรุงกระดุกและฟัน

นิทาน : เรื่อง น้องจอยไม่ชอบดื่มนม

เพลง : ดื่ม ดื่ม ดื่ม เรามาดื่ม ดื่มนมกันเถอะ ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ ดื่มแล้วอย่าทำเลอะเทอะ ดื่มนมกันเถอะ ร่างกายแข็งแรง



จากนั้นอาจารย์ให้เลือกหัวข้อจาก My Mapping มา 1 หัวข้อเพื่อมาเขียนแผนการสอนในแผ่นที่ 2 กลุ่มดิฉันเลือกหัวข้อ นิทาน 
ในส่วนประกอบของการเขียนแผนการสอนจะประกอบด้วย 1. ชื่อแผน 2. วัตถุประสงค์ 3. สาระกาเรียนรู้ 4. วิธีดำเนินการ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำ และขั้นสอน 5. สรุป 6. ประเมิน ( อาจารย์บอกว่ามีวัตถุประสงค์กี่ข้อ ให้ประเมินตามข้อของวัตถุประสงค์ค่ะ )


เมื่อทุกกลุ่มเขียนแผนการเรียนเสร็จ อาจารย์ได้ให้ทุกกลุ่มออกมานำเสนอหน้าห้อง











ในการที่อาจารย์ได้ให้ฝึกเขียนแผนการสอน สามารถนำไปใช้ได้ในชั้นปีที่ 3 และ 4 ได้ค่ะ

การนำความรู้ไปใช้... 

1. สามารถนำไปเขียนแผนการสอนในอนาคตได้
2. สามารถเขียนแผนการสอนได้ง่านขึ้น เพราะ ได้รู้แล้วว่าการเขียนแผนประกอบด้วยอะไรบ้าง
3. สามารถนำแผนการสอนที่เรียนมา ไปใช้ในการฝึกสอนในอนาคตได้








ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่ม 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20


ความรู้ที่ได้รับในวันนี้...

วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม เพื่อออกแบบมุมประสบการณ์ในแบบของเราค่ะ ที่ต้องเชื่ยงโยงเกี่ยวกับภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยได้ด้วย กลุ่มของดิฉันทำเกี่ยวกับ มุมศิลปะ



ผลงานของเพื่อนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ มุมประสบการณ์

กลุ่ม มุมดอกไม้ (กลุ่มนี้นำเสนอได้ดีเพราะมีการเขียนกำกับไว้ด้วยว่าเป็นดอกอะไรบ้าง และมีหนังสือเกี่ยวกับดอกไม้อยู่ในมุมด้วย)



กลุ่ม มุมอาเซียน



กลุ่ม มุมบทบาทสมมุติ



กลุ่ม มุมสัญญาณจราจร



กลุ่ม มุมสัตว์



การนำความรู้ไปใช้... 

1. สามารถนำไปจัดมุม สำหรับเด็กปฐมวัย ในอนาคตได้
2. สามารถนำไปต่อยอดให้การจัดมุมต่างๆได้
3.สามารถออกแบบมุมสำหรับเด็กในการฝึกสอนได้






วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 12  เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่ม 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ...

ก่อนเข้าเรียนอาจารย์ให้ตัวแทนเพื่อนออกมาหน้าห้องเพื่อให้มาเล่นเกม ใบ้ท่าทางสัตว์ต่างๆให้เพื่อนในห้องทายว่าเป็นสัตว์อะไร เมื่อเพื่อนในห้องทายถูกให้ทำเสียงเป็นสัตว์ตัวนั้น
**กิจกรรมนี้ได้พัฒนาการทางด้านภาษา ด้านท่าทางและ ด้านเสียง

วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา

ในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา อาจสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
**ไม่ควรบังคับเด็ก เด็กจะซึมซาบภาษาเข้าไปโดยไม่รู้ตัว ไม่ควรเน้นที่เนื้อหา เด็กจะได้รับภาษาในระหว่างที่ทำกิจกรรมและเล่นในห้องเรียน คุณครูควรให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะด้านภาษา

หลักการ : ควรให้สอดคล้องกับการเรียน เด็กได้สำรวจจริง ได้เล่นจริง ได้ลงมือทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง ไม่ควรบังคับ สื่อที่จัดภายในห้องควรให้เด็กเห็นแล้วเกิดความสังสัย

สิ่งแวดล้อม : ไม่ควรปล่อยให้เด็กเล่นคนเดียวควรให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในห้อง เด็กจะได้ภาษาไปในตัว เด็กควรได้รับการสื่สาร 2 ทาง คือ เมื่อเด็กถามต้องมีคนตอบ

สิ่งแวดล้อมที่ดีควรเน้นการจัดไว้อย่างมีความหมาย และในห้องเรียนเมื่อเด็กเล่นต้องมีความผิดพลาดเกิดขึ้นบ้างในเรื่องของการใช้ ภาษา คุณครูห้ามดุด่าแต่จะค่อยๆปรับไปเรื่อยๆ รูปภาพหรือภาษาที่อยู่รอบๆห้องนั้น ควรเป็นภาษาที่เด็กสื่อออกมาเอง เช่น ในตอนที่เด็กๆได้ทำกิจกรรมก็เอาผลงานของเด็กๆมาแปะไว้รอบๆห้องเพื่อให้เด็กๆเห็น เด็กๆจะเกิดการเรียนรู้  สิ่งแวดล้อมจะต้องจัดให้เด็กได้ทั้งประสบการณ์ในการฟัง พูด อ่าน เขียน

มุมประสบการณ์ต่างๆที่ส่งเสริมภาษาให้กับเด็ก
- มุมหนังสือ (สำคัญมาก)                                                                               
- มุมบทบาทสมมุติ
- มุมศิลปะ ( ผ่านการวาด การเขียน การระบายสี การตัด )
- มุมดนตรี

** กิจกรรมการเข้าตามมุมเด็กจะได้รับภาษาอย่างที่คุณครูไม่ต้องสอนเด็กเลยก็ได้

ลักษณะการจัดมุมในห้องเรียน

- ควรมีพื้นที่ในการทำกิจกรรม
- ให้เด็กมีความรู้สึกได้ผ่อนคลาย น่าเข้าไปเล่น
- ควรมีโต๊ะ ดินสอ ปากกา สี กรรไกร กาว (ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีวางไว้ให้กับเด็กคุณครูต้องสอนวิธีการใช้ทุกชิ้นให้กับเด็ก เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขั้นกับตัวเด็ก) ควรให้เด็กได้ลงมือทำอย่างมีอิสระ
- คุณครูควรวางแผนร่วมมือกับเด็ก ถามเด็กว่าอยากได้มุมแบบไหนบ้าง เช่น มุมศิลปะ อยากได้สีแบบไหน และอยากได้อะไรเพิ่มเติมไหม

1. มุมหนังสือ
- ควรมีชั้นวางหนังสือที่เหมาสมกับวัย
- มีความสงบ และควรมีพื้นที่ให้เด็กอ่านหนังสือได้คนเดียวแต่ก็ควรมีโต๊ะที่ให้เด็กได้อ่านร่วมกันเป็นกลุ่ม
- ควรมีอุปกรณ์สำหรับการเขียน



2. มุมบทบาทสมมุติ (แสดงตามตัวละครในนิทาน)
- ควรมีอุปกรณ์เพื่อให้เด็กเข้าไปเล่นที่หลากหลาย
- อุปกรณ์ควรจะเป็นอุปกรณ์ที่สอดคล้องกับมุม
- มีพื้นที่สำหรับการเล่น และไม่จำเป็นต้องจัดอยู่แต่ภายในห้องก็ได้




3. มุมศิลปะ (ผ่านการวาด การเขียน)
- เด็กได้ภาษาจากมุมนี้คือ ภาษาธรรมชาติ
- ควรจะมีอุปกรณ์ที่หลากหลาย อย่างเช่น สี กระดาษา เม็ดถั่ว ดินสอ ยาง กรรไกร กาว แม็ก (คุณครูต้องสอนวิธีการใช้ให้กับเด็กก่อนเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อเด็ก) ในการที่จะจัดอะไรคุณครูต้องดูความเหมาะสมให้เหมาะกับเด็กด้วย




4.มุมดนตรี
-เด็กได้จังหวะ ได้พูด ได้ร้องเพลง
- ควรจะมีเครื่องดนตรีไว้ให้เด็กในมุม ทั้งของปลอมและของจริง เช่น กลอง ฉิ่ง ระนาด ขลุ่ย กรับ หรือเครื่องเคาะจังหวะต่างๆ




ในการจัดมุมต่างๆควรจัดตามที่เด็กอยากเล่น ได้ควรสอดแทรกภาษาไว้ด้วย **สิ่งสำคัญที่สุดคือลายมือของคุณครู ตัวหนังสือที่ควรปรากฏอยู่ในมุม หรือปรากฏอยู่ภายในห้องนั้นควรเป็นตัวหนังสือที่ ตัวกลม หัวเหลี่ยม

เพราะฉะนั้นคุณครูเลยให้พวกเราฝึกคัดลายมือตามแบบ กว่าจะคัดได้ ต้องเสียกระดาษไปหลายใบเลย


ผลงานการคัดลายมือของดิฉันค่ะ



 การนำความรู้ไปใช้.... 
1. สามารถนำความรู้เรื่องการจัดมุมไปใช้ในอนาคตได้
2. สามารถจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การเรียนให้เด็กได้
3. สามารถไปฝึกฝนและพัฒนาลายมือของตนเองได้ เพราะว่าอาจารย์ได้ให้ฝึกคัดลายมือแล้ว





ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 08.30 -12.20 กลุ่ม 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้....

วันนี้อาจารย์ได้ให้ผลิตสื่อ เกมการศึกษากลุ่มละ 1 แผ่น กลุ่มดิฉันได้เอาเกม วงล้อหรรษา

     

กำลังร่างสื่อเกมการศึกษาที่ออกแบบมาเสร็จแล้ว




ร่างเสร็จแล้วก็ลงสีเกมการศึกษาให้มีสีส้นสวยงามเหมาะแก่การในเด็กไปเล่นได้เรียนรู้


และแล้วสือเกมการศึกษาของกลุ่มเราก็เสร็จสมบูรณ์แล้ว

กิจกรรมผลิตสื่อเกมการศึกษาในครั้งนี้ จะได้ภาษา คือ ได้สื่อสารกันในการเล่นเกมการศึกษา โดยวิธีการเล่นก็คือ หมุนวงล้อหรรษาเมื่อวงล้อหยุดลง ที่สัตว์ตัวไหนให้ถามเด็กๆว่าเป็นสัตว์อะไร แล้วสะกดคำภาษาอังกฤษให้เด็กฟัง แล้วให้เด็กพูดตาม จะทำให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กันในสังคมอีกด้วย

ผลงานของเพื่อนๆแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ



















การนำความรู้ไปใช้...

1. สามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆผ่านการเล่นได้
2. สามารถนำไปต่อยอดใช้ในการผลิตสื่อต่างๆได้อีกมากมาย
3. ช่วยฝึกกล้ามเนื้อมักเด็กเล็กให้กับเด็กได้ เช่น เด็กต้องใช้มือหมุนวงล้อ
4. สามารถนำสื่อเกมการศึกษามาประยุกต์ไปใช้ในด้านต่างๆได้ เช่น พัฒนาด้านอารมณ์และสังคมให้กับเด็ก เนื่อจากเด็กได้มีส่วนร่วมเล่นกับเพื่อนๆ ทำให้เกิดความสนุกเพลิดเพลิน เด็กจะเกิดอารมณ์ที่ดี