วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 12  เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่ม 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ...

ก่อนเข้าเรียนอาจารย์ให้ตัวแทนเพื่อนออกมาหน้าห้องเพื่อให้มาเล่นเกม ใบ้ท่าทางสัตว์ต่างๆให้เพื่อนในห้องทายว่าเป็นสัตว์อะไร เมื่อเพื่อนในห้องทายถูกให้ทำเสียงเป็นสัตว์ตัวนั้น
**กิจกรรมนี้ได้พัฒนาการทางด้านภาษา ด้านท่าทางและ ด้านเสียง

วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา

ในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา อาจสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
**ไม่ควรบังคับเด็ก เด็กจะซึมซาบภาษาเข้าไปโดยไม่รู้ตัว ไม่ควรเน้นที่เนื้อหา เด็กจะได้รับภาษาในระหว่างที่ทำกิจกรรมและเล่นในห้องเรียน คุณครูควรให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะด้านภาษา

หลักการ : ควรให้สอดคล้องกับการเรียน เด็กได้สำรวจจริง ได้เล่นจริง ได้ลงมือทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง ไม่ควรบังคับ สื่อที่จัดภายในห้องควรให้เด็กเห็นแล้วเกิดความสังสัย

สิ่งแวดล้อม : ไม่ควรปล่อยให้เด็กเล่นคนเดียวควรให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในห้อง เด็กจะได้ภาษาไปในตัว เด็กควรได้รับการสื่สาร 2 ทาง คือ เมื่อเด็กถามต้องมีคนตอบ

สิ่งแวดล้อมที่ดีควรเน้นการจัดไว้อย่างมีความหมาย และในห้องเรียนเมื่อเด็กเล่นต้องมีความผิดพลาดเกิดขึ้นบ้างในเรื่องของการใช้ ภาษา คุณครูห้ามดุด่าแต่จะค่อยๆปรับไปเรื่อยๆ รูปภาพหรือภาษาที่อยู่รอบๆห้องนั้น ควรเป็นภาษาที่เด็กสื่อออกมาเอง เช่น ในตอนที่เด็กๆได้ทำกิจกรรมก็เอาผลงานของเด็กๆมาแปะไว้รอบๆห้องเพื่อให้เด็กๆเห็น เด็กๆจะเกิดการเรียนรู้  สิ่งแวดล้อมจะต้องจัดให้เด็กได้ทั้งประสบการณ์ในการฟัง พูด อ่าน เขียน

มุมประสบการณ์ต่างๆที่ส่งเสริมภาษาให้กับเด็ก
- มุมหนังสือ (สำคัญมาก)                                                                               
- มุมบทบาทสมมุติ
- มุมศิลปะ ( ผ่านการวาด การเขียน การระบายสี การตัด )
- มุมดนตรี

** กิจกรรมการเข้าตามมุมเด็กจะได้รับภาษาอย่างที่คุณครูไม่ต้องสอนเด็กเลยก็ได้

ลักษณะการจัดมุมในห้องเรียน

- ควรมีพื้นที่ในการทำกิจกรรม
- ให้เด็กมีความรู้สึกได้ผ่อนคลาย น่าเข้าไปเล่น
- ควรมีโต๊ะ ดินสอ ปากกา สี กรรไกร กาว (ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีวางไว้ให้กับเด็กคุณครูต้องสอนวิธีการใช้ทุกชิ้นให้กับเด็ก เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขั้นกับตัวเด็ก) ควรให้เด็กได้ลงมือทำอย่างมีอิสระ
- คุณครูควรวางแผนร่วมมือกับเด็ก ถามเด็กว่าอยากได้มุมแบบไหนบ้าง เช่น มุมศิลปะ อยากได้สีแบบไหน และอยากได้อะไรเพิ่มเติมไหม

1. มุมหนังสือ
- ควรมีชั้นวางหนังสือที่เหมาสมกับวัย
- มีความสงบ และควรมีพื้นที่ให้เด็กอ่านหนังสือได้คนเดียวแต่ก็ควรมีโต๊ะที่ให้เด็กได้อ่านร่วมกันเป็นกลุ่ม
- ควรมีอุปกรณ์สำหรับการเขียน



2. มุมบทบาทสมมุติ (แสดงตามตัวละครในนิทาน)
- ควรมีอุปกรณ์เพื่อให้เด็กเข้าไปเล่นที่หลากหลาย
- อุปกรณ์ควรจะเป็นอุปกรณ์ที่สอดคล้องกับมุม
- มีพื้นที่สำหรับการเล่น และไม่จำเป็นต้องจัดอยู่แต่ภายในห้องก็ได้




3. มุมศิลปะ (ผ่านการวาด การเขียน)
- เด็กได้ภาษาจากมุมนี้คือ ภาษาธรรมชาติ
- ควรจะมีอุปกรณ์ที่หลากหลาย อย่างเช่น สี กระดาษา เม็ดถั่ว ดินสอ ยาง กรรไกร กาว แม็ก (คุณครูต้องสอนวิธีการใช้ให้กับเด็กก่อนเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อเด็ก) ในการที่จะจัดอะไรคุณครูต้องดูความเหมาะสมให้เหมาะกับเด็กด้วย




4.มุมดนตรี
-เด็กได้จังหวะ ได้พูด ได้ร้องเพลง
- ควรจะมีเครื่องดนตรีไว้ให้เด็กในมุม ทั้งของปลอมและของจริง เช่น กลอง ฉิ่ง ระนาด ขลุ่ย กรับ หรือเครื่องเคาะจังหวะต่างๆ




ในการจัดมุมต่างๆควรจัดตามที่เด็กอยากเล่น ได้ควรสอดแทรกภาษาไว้ด้วย **สิ่งสำคัญที่สุดคือลายมือของคุณครู ตัวหนังสือที่ควรปรากฏอยู่ในมุม หรือปรากฏอยู่ภายในห้องนั้นควรเป็นตัวหนังสือที่ ตัวกลม หัวเหลี่ยม

เพราะฉะนั้นคุณครูเลยให้พวกเราฝึกคัดลายมือตามแบบ กว่าจะคัดได้ ต้องเสียกระดาษไปหลายใบเลย


ผลงานการคัดลายมือของดิฉันค่ะ



 การนำความรู้ไปใช้.... 
1. สามารถนำความรู้เรื่องการจัดมุมไปใช้ในอนาคตได้
2. สามารถจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การเรียนให้เด็กได้
3. สามารถไปฝึกฝนและพัฒนาลายมือของตนเองได้ เพราะว่าอาจารย์ได้ให้ฝึกคัดลายมือแล้ว





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น