วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่ม 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.45 เวลาเลิกเรียน 12.20


ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ...

     วันนี้อาจารย์ให้ผลิตสื่อเกี่ยวกับประเทศอาเซียน โดยอาจารย์ได้แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม โดย


กลุ่มที่ 1  ทำเกี่ยวกับ กบเปิดปากแล้วพูดสวัสดีในของประเทศต่างๆ



เพื่อนๆช่วยกันระบายสีกบ และเขียนคำทักทายของประเทศต่างๆ แต่ถ้าให้เด็กปฐมวัยทำ เด็กจะได้มี
ปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนมากขึ้นและยังเป็นการฝึกทักษะทางด้านภาษาไปในตัว อีกทั้งการระบายสียังเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กไปพร้อมๆกันอีกด้วย



ผลงานของกลุ่มเราก็เสร็จสมบูรณ์แล้วค่ะ


กลุ่มที่ 2  ทำเกี่ยวกับ ธงชาติและคำทักทายของประเทศอาเซียนแต่ละประเทศ


เพื่อนกลุ่มนี้จะช่วยกันตัดธงและเขียนคำทักทายคู่กับธงของแต่ละประเทศถ้าในเด็กปฐมวัยทำ ครูอาจจะในเด็กเขียนเองหรือเขียนให้ก็ได้ เพื่อฝึกภาษาสำหรับเด็ก


ผลงานกลุ่มของนี้ก็เสร็จสมบูรณ์ค่ะ


กลุ่มที่ 3  ทำเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของประเทศอาเซียนโดยทำเป็นหุ่นนิ้วมือ


เพื่อนกลุ่มนี้จะช่วยกันวาดรูปเครื่องแต่งกายในประเทศอาเซียนเพื่อจะนำมาทำเป็นหุ่นนิ้วมือ ถ้าให้เด็กปฐมวัยทำเด็กจะเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องแต่งกายต่างๆในประเทศอาเซียน


กลุ่มที่ 4   ทำเกี่ยวกับธงชาติของประเทศอาเซียนแบบมีลูกเล่นโดยการชักขึ้นชักลงได้


เพื่อนกลุ่มนี้ช่วยกันทำธงชาติในประเทศอาเซียนโดยมีลูกเล่น คือ ธงชาติสามารถชักขึ้นชักลงได้ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ยากที่สุด


ผลงานของกลุ่มนี้ก็เสร็จสมบูรณ์ค่ะ


การนำความรู้ไปใช้...

     - สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ โดยในเด็กพัฒนาการด้านทักษะทางภาษา
     - สามารถทำให้เด็กสร้างปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนได้มากยิ่งขึ้น
     - สามารถช่วยให้เด็กได้พัฒนาในส่วนของ กล้ามเนื้อมัดเล็กได้



วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่ม 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20

ความรู้ที่ได้ในวันนี้ คือ ....

    วันนี้อาจารย์ให้ช่วยกันแต่งนิทานหนึ่งเรื่องโดยให้ทั้งห้องช่วยกันคิด จะทำเป็นนิทานเล่มใหญ่ (big book ) อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน เพื่อที่จะแบ่งหน้าของนิทานให้แต่ละกลุ่มเอาไปวาด โดยนิทานเรื่องนี้ได้ชื่อว่า "ลูกหมูแสนซน"


    กลุ่มเราได้รับผิดชอบหน้าที่ 10 โดยเป็นหน้าสุดท้ายของนิทาน มีเนื้อเรื่องว่า "ลูกหมูทั้ง 4 ตัวบอกให้พ่อ-แม่หมูไปช่วยพี่คนโตและครอบครัวหมูก็เดินทางกลับบ้านกันอย่างมีความสุข "




ถ้าหากเรานำกิจกรรมนี้ไปสอนเด็ก เด็กจะมีความเป็นมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับเพื่อนในห้อง


เด็กจะมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น และมีพัฒนาการแบบองค์รวม


เมื่อผลงานของทุกกลุ่มเสร็จ ก็ได้เวลาออกไปเล่าในส่วนที่กลุ่มตนเองได้ทำ



การนำความรู้ไปใช้...

   - สามารถนำไปเป็นสื่อใช้สอนเด็กปฐมวัยได้
   - สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้ เพื่อที่จะให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานเป็นกลุ่ม
   - สามารถให้เด็กปฐมวัยฝึกความคิดสร้างสรรค์ในการคิดนิทานร่วมกับเพื่อนได้




วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่ม 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20


ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ...

กิจกรรมก่อนเรียน
    อาจารย์ได้ให้วาดรูป 1 รูป อะไรก็ได้ที่เราอยากวาด และให้ออกไปเล่าเป็นนิทานต่อจากเพื่อนที่เล่าก่อนหน้านี้ ฉันวาดเป็นรูปทะเล ซึ่งฉันเล่าประมาณว่า มีบ้านพักตากอากาศของเจ้าหมาของเพื่อนอยู่ตรงชายทะเล ต่อจากนั้นเพื่อนอีกคนหนึ่งต้องมาเล่าต่อจากฉันให้ได้ เพื่อทำให้เป็นนิทาน 1 เรื่องโดยสมบูรณ์ พอคนสุดท้ายของห้องเล่าจบแล้ว อาจารย์ได้ให้เล่าใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ แต่มันอาจจจะไม่ค่อยเหมือนเดิมเท่าไหร่ ค่ะ


รูปทะเลที่ฉันวาด

เรียนเรื่อง :  การประเมินภาษาเด็ก

     1. ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลายใช้การสังเกตุและจดบันทึกเป็นสิ่งที่ดีที่สุด อย่างเช่น
             - การสนทนา การสังเกตุ หรือการจดบันทึก
             - การเขียน คือ การดูที่ลายเส้นที่เด็กเขียน
             - วาดภาพของเด็ก คือ ดูรายละเอียดของภาพว่ามีรายละเอียดมากน้อยเพียงใด
      2. เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก
             - บันทึกในสิ่งที่เด็กทำ แต่ในสิ่งที่เด็กทำไม่ได้ครูควรส่งเสริมเด็ก
             - ทำให้สามารถส่งเสริมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้น
      3. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
             - การที่จะดูว่าเด็กมีทักษะด้านการพูดดีไหม จะต้องดูหลายๆอย่าง ไม่ใช่ดูแค่อย่างเดียว
      4. ให้เด็กได้มีโอกาสประเมินตนเอง
             - เวลาให้เด็กทำผลงาน ควรจะติดผลงานเด็กไว้ภายในห้อง เพื่อที่จะให้เด็กได้ดูพัฒนาการของตนเอง
      5. ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
             - ครูที่ดีต้องใส่ใจในรายละเอียดของผลงานเด็กระหว่างที่เด็กทำ และต้องใส่ใจในกระบวนการคิดของเด็กด้วย
     
ตัวอย่างเช่น



รูปนี่เป็นรูปที่เด็กคนหนึ่งวาด เป็นรูปไอติมที่ละลายแล้ว

          
       6. ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
              - ขั้นตอนนี้สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน       

กิจกรรมฝึกทักษะ

    อาจารย์มีเกมส์ต่อจุดให้เล่น เป็นเกมส์ที่ฝึกทักษะในด้านการคิด คือ มีจุดอยู่ 9 จุด โดยให้ลากเส้นผ่านจุดทุกจุดห้ามยกมือขึ้น ดังตัวอย่าง


     ตอนแรกฉันทำไม่ได้ แต่พออาจารย์เฉลย ดังรูปขวามือ ก็ถึงกับ งง เลยเพราะมันออกนอกกรอบแต่อาจารย์บอกว่าเราเป็นครูไม่จำเป็นต้องคิดอยู่ในกรอบอย่างเดียว ควรจะคิดนอกกรอบบ้าง 

ตัวอย่าง :   กิจกรรมส่งเสริมลักษณะทางภาษา

   1. การเขียนตามคำบอกของเด็ก
   2. ช่วยเด็กเขียนบันทึก
   3. อ่านหนังสือนิทานร่วมกัน
   4. เขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าวเตือนความจำ
   5. อ่านคำคล้องจ้อง
   6. ร้องเพลง
   7. เล่าสู่กันฟัง
   8. เขียนส่งสารถึงกัน


กิจกรรมหลังเรียน :  เป็นกิจกรรมสุดท้ายของวันนี้ อาจารย์ได้เล่านิทานให้ฟัง อาจารย์จะเล่าให้ฟัง 2 รอบ โดยเล่ารอบที่ 1 ให้นักศึกษานั่งฟังเฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร ส่วนรอบที่ 2 พออาจารย์เล่าให้นักศึกษาวาดภาพไปด้วยตามอาจารย์

เรื่องที่ 1 คือ สุนัขจิ้งจอก



เรื่องที่ 2 คือ เกาะเต่าทอง


นิทานทั้ง 2 เรื่องนี้เป็นนิทานประเภท เล่าไปวาดไป คือ อาจารย์จะเล่าไปด้วยแล้วก็วาดไปด้วย แล้วตอนจบให้เด็กทายกันว่าเป็นรูปอะไร

การนำความรู้ไปใช้...

   - สามารถนำเรื่องการประเมินเด็กต่างๆนำไปประเมินเด็กเวลาออกฝึกสอนในอนาคตได้
   - สามารถนำความรู้เรื่อง การเล่านิทาน ไปเล่าให้เด็กฟังได้
   - สามารถนำเทคนิกการเล่านิทานแบบเล่าไปวาดไป ไปใช้สอนเด็กในได้ในอนาคต
   - สามารถนำกิจกรรมส่งเสริมภาษาสำหรับเด็กไปประยุกต์ในการสอนได้