วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 19 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่มเรียน 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20


ความรู้ที่ได้ในวันนี้ คือ ....

    - ได้รู้เรื่อง ภาษาธรรมชาติ ว่าเป็นอย่างไร และแนวการทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ควรจะจัดแบบไหน อาจจะจัดแบบ ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา เรียนรู้ความหมายของคำ หรือ การแจงลูกสะกดคำ  การเขียน อาจารย์สอนเรื่อง อ่านสะกดคำ การอ่านสะกดคำนั้นอาจจะไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู็ภาษาของเด็กปฐมวัย

อาจารย์มีตัวอย่างรูปภาพของการแจงลูกคำให้ดูด้วยค่ะ

ตัวอย่างเช่น 


ภาพนี้เป็นตัวอย่างของการแจงลูกคำ


ภาพนี้เป็นตัวอย่างของการอ่านสะกดคำ

       - ได้รู้เกี่ยวกับ ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย ว่าเด็กปฐมวัยนั้นมีความสนใจอยากรู้อยากเห็นในสิ่งรอบตัว   ช่างสงสัย ช่างสังเกตุ ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และ ยังชอบเลียนแบบคนรอบข้างด้วย เช่น เลียนแบบพ่อ - แม่ เลีบนแบบคุณครู เป็นต้น

       - ได้รู้เรื่องของ การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ว่า การสอนภาษาแบบธรรมชาตินั้นจะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง อย่างเช่น สอนแบบบรูณาการ หรือ องค์รวม สอนในสิ่งที่เด็กปฐมวัยมีความสนใจและมีความหมายต่อเด็ก และ ควรจะสอดแทรกการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับกิจกรรมในเด็กทำ

       อาจารย์ได้มีตัวอย่าง VDO เรื่อง การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ของ ดร. วรนาท รักสกุลไทย เป็นการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้เด็กรักภาษาได้ด้วย ทฤษฎี ภาษาธรรมชาติ มาให้ดูในชั้นเรียนด้วย ค่ะ



นักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการสอนภาษาแบบธรรมชาติ


Dewey


Piaget


Vygotsky

    - ได้รู้เรื่อง หลักการสอนแบบธรรมชาติ ว่าควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง หลักการสอนแบบธรรมชาติ ควรจะประกอบไปด้วย 1. การจัดสภาพแวดล้อม 2. การสื่อสารที่มีความหมาย 3. การเป็นแบบอย่าง 4. การตั้งความคาดหวัง 5. การคาดคะเน 6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ 7. การย้อมรับนับถือ 8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น เป็นต้น ค่ะ

     อาจารย์มีรูปภาพตัวอย่าง เรื่อง การสื่อสารที่มีความหมาย และ เรื่อง กานเป็นแบบอย่าง มาให้ดูในชั้นเรียน ด้วยค่ะ

ตัวอย่างเช่น


ภาพนี้เป็นตัวอย่างของการสื่อสารที่มีความหมาย


ภาพนี้เป็นตัวอย่างของการเป็นแบบอย่าง
        
        เช่น เขาเขียนไว้ว่า กรุณาอย่างจิ้มทุกเรียน ภาพที่เห็นไม่ใช่ทุเรียนแต่เป็นแตงโม เด็กในวัยปฐมวัยยังไม่รู้จักว่าอันไหนทุเรียนอันไหนแตงโม เมื่อเด็กเห็นภาพนี้แล้วก็คิดไปเองว่าผลไม้ในภาพนั้น คือ ทุเรียน
       ฉะนั้น คุณครูจะต้องเป็นแบบอย่างให้เด็กโดยการบอกเด็กว่าภาพนี้เขาเขียนผิด สิ่งในภาพนี้คือ แตงโม ไม่ใช่ทุเรียน ค่ะ

      - ได้รู้เรื่อง บทบาทของครูปฐมวัยค่ะ ว่าครูปฐมวัยนั้นควรจะมีบทบาทเป็นเช่นไร อย่างเช่น ครูปฐมวัยควรจะคาดหวังเด็กแต่ละคนแตกต่างกันเพราะ เด็กแต่ละคนมีลักษณะนิสัยไม่เหมือนกัน หรือ ครูปฐมวัยควรสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์ให้ครบถ้วนและเหมาะสมแก่เด็ก

       อาจารย์มีตัวอย่างของสิ่งพิมพ์ที่อาจจะเหมาะสมแก่เด็กปฐมวัยมาให้ดูในชั้นเรียนด้วย หรือ เป็นกิจกรรมระหว่างเรียนก็ได้ เพราะ อาจารย์ให้พวกเราร้องเพลงตามรูปที่อาจารย์นำมาให้ดู ค่ะ

ตัวอย่างเช่น


ภาพนี้เป็น เพลง แปรงฟัน น่าจะเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เพราะ มีรูปภาพประกอบอยู่ในเพลง เด็กจะชอบดูรูปภาพมากกว่าคำต่างๆ


ภาพนี้เป็น เพลง ตาหูจมูก เป็นเพลงที่สามารถใช้ฝึกประสาทสัมผัสของเด็กได้ด้วย โดยการให้เด็กร้องเพลงพร้อมจับไปตามอวัยวะต่างๆที่อยู่ในเพลง เด็กจะสนุกและได้พัฒนาการทางด้านสติปัญญาได้ด้วย

การนำความรู้ไปใช้...

1. สามารถเข้าใจถึง ภาษาธรรมชาติของเด็กปฐมและนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนได้
2. สามารถนำเอาธรรมชาติของเด็กปฐมวัย มาใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้
3. สามารถนำเอาหลักการสอนแบบธรรมชาติ มาใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้
4. สามารถนำเอาตัวอย่างสิ่งพิมพ์ ของเด็กปฐมวัย นำไปดัดแปลง เพื่อเอาไปสอนเด็กปฐมวัยได้



ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 12 กรกฏาคม 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่มเรียน 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20


ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ.....

   - ได้รู้เรื่องเกี่ยวกับนักทฤษฏีต่างๆว่า แต่ละคนมีทฤษฏีเป็นแบบไหนบาง ได้เรียนรู้ทฤษฏีของ สกินเนอร์ ว่า สิ่งแวดล้อมต่างๆนั้นมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก และ เด็กในช่วงปฐมวัยจะให้ความสำคัญต่อสิ่งเร้าและการตอบสนอง ค่ะ

   - ได้รู้เกี่ยวกับ ทฤษฏีของ วัตสัน ว่าเป็นทฤษฏีของการวางเงื่อนไขพฤติกรรมเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ และผู้ใหญ่สามารถวางเงื่อนไขให้เด็กได้ เช่น วัตสันได้ทำการทดลองกับเด็ก อายุ 11 เดือน ด้วยการเอากระต่ายน้อยมาให้เด็กเล่น ครั้งแรกเด็กจับเล่นไม่กลัวหรือตกใจเมื่อเห็นกระต่ายน้อย ส่วน ครั้งที่ 2 เขาก็เอากระต่ายมาให้เด็กเล่นอีก แต่ครั้งนี้เวลาเด็กจะจับกระต่าย เขาก็จะตีแผ่นเหล็ก เด็กจะตกใจและร้องไห้ เมื่อเขาทำแบบนี้ไปไม่กี่ครั้ง เด็กก็จะเกิดความกลัวขึ้น เวลากระต่ายเข้ามาใกล้ก็จะร้องไห้ และยังทำให้เด็กกลัวสิ่งต่างๆที่ลักษณะคล้ายกัน เวลาเด็กเห็นสิ่งแบบนั้นก็จะทำให้เด็กกลัวได้ ค่ะ

    - ได้รู้เรื่อง กลุ่มของนักพฤติกรรมนิยม ว่ามีใครบ้าง และแต่ละคนมีแนวคิดแบบไหน อย่างเช่น เพียเจย์ บอกไว้ว่า เด็กจะเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และ ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก ค่ะ 

    - ได้รู้เรื่องของ มุมมองที่มีต่อภาษาในการจัดประสบการณ์ ว่าเป็นแบบไหน แล้วเราควรจะจัดประสบการณ์ทางภาษาให้เด็กปฐมวัยแบบไหนได้บ้าง

    - ได้รู้เรื่อง องค์ประกอบของเสียง ว่าเสียงนั้นมีองค์ประกอบออะไรบ้าง

อาจารย์ให้ดูตัวอย่างขององค์ประกอบของเสียงค่ะ เช่น





      ภาพนี้เป็นตัวอย่างของ องค์ประกอบเสียง ซ้ายมือจะเป็นการอ่านออกเสียงของบ้านเรา ส่วนขวามือเป็นการอ่านเสียงของ ประเทศลาว

นักทฤษฎีที่ได้เรียนมาในวันนี้




Skinner


Watson


Piaget


กิจกรรมในห้องเรียน

   อาจารย์ให้วาดภาพสิ่งของที่ชอบในสมัยเด็ก และให้อธิบายว่าทำไมถึงชอบสิ่งนี้



      สิ่งที่ชอบในสมัยเด็ก คือ ชุดจานชามรูปโดราเอมอน เป็นสิ่่งที่ฉันชอบมากในวัยเด็กจนถึงปัจจุบัน และเป็นสิ่งที่ใช้มาโดยตลอดที่ชอบ เพราะ แม่ซื้อให้ด้วยและเป็นรูปการ์ตูนที่ชอบด้วย ตอนกินข้าวเวลาได้กินด้วยชุดจานชามนี้แล้วจะมีความสุขมาก และทำให้กินข้าวอร่อยขึ้นด้วยค่ะ


การนำความรู้ไปใช้....

1. สามารถนำทฤษฎีต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. สามารถนำแนวคิดของนักทฤษฎีต่างๆ ที่เรียนมา ไปใช้ในการฝึกสอนในอนาคตได้
 3. สามารถนำ เรื่อง องค์ประกอบของเสียง ไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ เมื่อออกไปฝึกสอน




วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4


บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 5 กรกฎาคม 2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่มเรียน 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20

วันนี้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

กลุ่มของดิฉันกลุ่มที่ 2 เรื่อง ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญา

               พัฒนาการทางสติปัญญา
1. พัฒนาการทางด้านการรับรู็ของเด็กปฐมวัย
2. พัฒนาการทางด้านความคิดความเข้าใจของเด็กปฐมวัย

พัฒนาการทางด้านการรับรู้ของเด็กปฐมวัย

        ในเด็กวัยนี้จะมีความสามารถในด้านการรับรู้ตลอดจนความคิดคำนึกเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ระยะนี้เป็นระยะของการที่เด็กเตรียมตัวเพื่อให้ต่อการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา การรับรู้ด้านต่างๆของเด็กปฐมวัยได้รับความสนใจและมีการศึกษากันมาก โดยเฉพาะทางด้านการรับรู้ทางสายตาและโดยธรรมชาติของเด็กปฐมวัยในการรับรู็จะแตกต่างไปกว่าเมื่อตอนเป็นทารก
         เด็กปฐมวัยจะมีพัฒนาการความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาของ ( Welch,1940 ) พบว่า การพัฒนาของความคิดรวบยอดจะเพิ่มตามช่วงอายุและตามความคิดรวบยอดพัฒนาการอย่างรวดเร็วอยู่ในช่วง ปฐมวัย  ( เช่น ความสารถในการแก้ไขปัญญา การสร้างความเข้าใจพิ้นฐานเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจต่างๆมากขึ้น )
         เด็กปฐมวัยจะเป็นระยะของพัฒนาการทางภาษาอย่างรวดเร็วโดยมีการฝึกการใช้ภาษา เช่น การพูดคุย เล่านิทาน การทำกิจกรรมต่างๆ และ การใช้ภาษาปฏิสัมพันธ์ผู้อื่น พัฒนาการด้านความคิดความเข้าใจของเด็กวัยนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อเตรียมความพร้อมต่อความเข้าใจในสิ่งต่างๆมากสิ่งขึ้น

พัฒนาการทางด้านความคิดความเข้าใจของเด็กปฐมวัย

          เพียเจต์ นักจิตวิทยาซึ่งได้ศึกษาใน เรื่องพัฒนาการได้านความคิด ความเข้าความใจของเด็ก  เรียกระยะของเด็กปฐมวัย ว่า เป็นระยะของการแก้ไขปัญญาโดยการรับรู้และยังไม่ใช่เหตุผล จะมีลักษณะพัฒนาการทางด้านความคิดความเข้าใจที่เป็นลักษณะเฉพาะ

ลักษณะทางความคิดความเข้าใจของเด็กปฐมวัย

1. เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการการสร้างมโนภาพขึ้นในใจ
           ความคิดคำนึงหรือการสร้างมโนภาพขึ้นในใจ เพื่อใช้แทนบุคคล หรือ วัตถุ จะพัฒนาขึ้นตานต้นๆของชีวิต การสร้างมโนภาพแสดงถึงความสามารถทางสติปัญญาของเด็กที่เพิ่มมากขึ้น โดยเด็กจะสามารถนึกถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตและคาดการสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต นำไปสู่ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์

2. เด็กปฐมวัยจะมีความสามารถในการใช้เหตุผลเบื้องต้น
           เด็กจะเริ่มนำวัตถุ 2 สิ่ง หรือ เหตุการณ์ 2 เหตูการณ์ ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุผลซึ่งกันและกัน ซึ่งทำให้เด็กยึดความคิและความต้องการของตัวเองเป็นใหญ่ในการให้เหตุผล อย่างไรก็ตามเด็กจะมีความสามารถในการให้เหตุผลที่ดีและถูกต้องขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางด้านความคิดความเข้าใจมากขึ้น

3. เด็กปฐมวัยจะมีลักษณะของการยึดตนเองเป็นจุดศูนย์กลาง
           เป็นลักษณะที่สำคัญของเด็กปฐมวัย จะทำให้เด็กคิดอะไรก็เข้าข้างตัวเองโดยไม่สนใจผู้อื่นพูดแต่เรื่องของตนเอง จากการวิจัยในปัจจุบันพบว่าการยึดตนเองเป็นจุดศูนย์กลางของเด็กปฐมวัยจะไม่รุนแรงหากเด็กสามารถเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่นได้ดีและการยึดตนเองเป็นจุดศูนย์กลางจะลดลงเมื่อเด็กอายุมากขึ้นตามลำดับ

4. เด็กปฐมวัยยังไม่สามารถรู้การย้อนทวนกลับของสิ่งของหรือจำนวน
            ความสามารถนี้ยังไม่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยย่างชัดเจนแต่จะสามารถเห็นได้ในระยะปฐมวัยตอนปลายหรือเตรียมวัยประถมศึกษาความสามารถในการคิดย้อนทวนกลับของสิ่งของหรือวัตถุจะทำให้เด็กปฐมวัยคิดอย่างมีเหตุผลมากขึ้น

5. เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการจัดกลุ่มสิ่งของ
            เด็กจะมีความสามารถในการจัดกลุ่มสิ่งของที่อยู่รอบตัวในสภาพแวดล้อม การพัฒนาของความสามารถนี้จะพัฒนาอย่างรวดเร็วในระดับปฐมวัย ความสามรถในการจัดกลุ่มยังเป็นเครื่องแสดงถึงความก้าวหน้าทางด้านความคิดความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆรอบตัวโดยเฉพาะความคิดรวบยอดต่อสิ่งต่างๆเด็กจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว
สรุป : เด็กปฐมวัยยังมีความสามารถทางด้านสติปัญญาด้านอื่นๆที่ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นกว่าวัยทารก เช่น การมีช่วงเวลาแห่งความสนใจมากขึ้น ความจำดีขึ้น ความสามรถในการเข้าใจจำนวน การตัดสินใจ การใช้เหตุผลแต่ในระดับของเด็กปฐมวัยประกอบกับการยึดตนเองเป็นจุดศูนย์กลาง
       กล่าวคือ การพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ควรมีการเริ่มตั้งแต่เด็กยังเล็กและเพิ่มความสามารถขึ้นไปเรื่อยตามความเหมาะสมบนพื้นฐานความสามารถของเด็กปฐมวัย 
แหล่งที่มา : ชื่อหนังสือ : พฤติกรรมวัยเด็ก  CHILD  BEHAVIOR
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประไพพรรณ   ภูมิวุฒิสาร ผู้เขียนหน่วยที่ 2 พัฒนาการวัยเด็ก
จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ได้มาจาก : ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


เพื่อนในกลุ่มกล่าวเปิด หัวข้อในการนำเสนอ


ดิฉันกำลังพรีเซ็นต์งานหน้าชั้นเรียนใน
หัวข้อ พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย


เพื่อน คนที่ 2 กำลังพรีเซนต์งานหน้าชั้นเรียนใน 
หัวข้อ ความคิดความเข้าใจของเด็กปฐมวัย


เพื่อน คนที่ 3 กำลังพรีเซนต์งานหน้าชั้นเรียนใน
หัวข้อ เด็กปฐมวัยยังไม่รู้จักการย้อนทวนกลับ


เพื่อนคนที่ 4 กำลังสรุปเนื้อหาทั้งหมด


ทุกคนในกลุ่มกำลังดูวีดิโอนำเสนอ


ทุกคนในกลุ่มกำลังเตรียมพูดสรุปวีดิโอนำเสนอ




ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 28 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 3

วันนี้หยุดเรียนค่ะ เพราะ มีกิจกรรมรับน้องใหญ่ของมหาวิทยาลัย




ซุ้มที่ใช้ในการรับน้อง สนุกมากกันเลยทีเดียว



ปฐมวัย ปี 1 หลังจากผ่านการเข้าซุ้มโคลนของพี่ปี 2 



ปฐมวัย ปี 1 ที่รอการเข้าซุ้ม ก็เต้นกันไปพรางๆกันก่อนน้า



หลังเสร็จจากการเข้าซุ้ม ก็มาลุยเกมส์กันต่อ เป็นเกมส์ที่สานความสัมพันธ์ระหว่างเอก



ฝึกความอดทนของ ปฐมวัย ปี 2 ด้วยการให้นอนอาบแดด ไม่มีใครเป็นอะไรเลย อดทนมากก...



บูมเอก พร้อม...พร้อมมม .... เป็นการบูมเอกจบการรับน้องของ ปฐมวัย ปี 1 





ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤก แจ่มถิน
วันที่ 21 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 08.30-12.20  กลุ่มเรียน 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20


ความรู้ที่ได้ในวันนี้ คือ ...
                 
               อาจารย์สอนเรื่องเด็กปฐมวัยเรียนรู้ภาษาจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และ โรงเรียน เด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อน เพราะ การฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐาน และอาจารย์ยังให้ดูทฤษฎีพัฒนาการทาางสติปัญญาของเพียเจย์ด้วย อย่างเช่น

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ ( Piaget )





           เพียเจท์ (Piaget) เชื่อว่าการเรียนรู้ภาษาเป็นผลจากความสามารถทางสติปัญญา เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกรอบตัวของเขา เด็กจะเป็นผู้ปรับสิ่งแวดล้อมโดยการใช้ภาษาของตน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

             1. เด็กมีอิทธิพลต่อวิธีการที่แม่พูดกับเขา จากผลการวิจัยปรากฏว่า แม่จะพูดกับลูกแตกต่างไปจากพูดกับผู้อื่น เพื่อรักษาการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน แม่จะพูดกับเด็กเล็กๆต่างจากเด็กโตและผู้ใหญ่ จะพูดประโยคที่สั้นกว่า ง่ายกว่า เพื่อการสื่อสารที่มีความหมาย
          2. เด็กควบคุมสิ่งแวดล้อมทางภาษา เพื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เด็กต้องการค้นพบว่าเสียงที่ได้ยินมีความหมายอย่างไร มีโครงสร้างเพื่อองค์ประกอบพื้นฐานอะไร
            3. การใช้สิ่งของหรือบุคคลเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเข้าใจพื้นฐานว่า ผู้ใหญ่เห็นหรือได้ยินเขาพูด เด็กอาจเคลื่อนไหวตัวหรือ จับ ขว้าง ปา บีบ ของเล่น เพื่อสร้างความเข้าใจเพื่อเป็นพื้นฐาน และความจำเป็นของความเจริญทางภาษา การเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เกี่ยวกับผู้อื่น เกี่ยวกับสิ่งของ เกี่ยวกับเหตุและผล เกี่ยวกับสถานที่ มิติ เกี่ยวกับการเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ของกิริยาและสิ่งของ มีส่วนช่วยให้เด็กแสดงออกทางภาษาอย่างมีความหมาย นั่นคือเด็กต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสิ่งต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม

สรุป : นอกจากนี้เพียเจท์ (Piaget) ยืนยันว่า พัฒนาการทางภาษาของเด็กเป็นไปพร้อม ๆ กับความสามารถด้านการให้เหตุผล การตัดสิน และด้านตรรกศาสตร์ เด็กต้องการสิ่งแวดล้อมที่จะส่งเสริมให้เด็กสร้างกฎ ระบบเสียง ระบบคำ ระบบประโยค และความหมายของภาษา นอกจากนี้เด็กยังต้องการฝึกภาษาด้วยวิธีการหลาย ๆ วิธีและจุดประสงค์หลาย ๆ อย่าง
การนำความรู้ไปใช้....

1. สามารถนำทฤษฎีของเพียเจท์ไปประยุกต์ใช้ในการออกฝึกสอนได้ค่ะ
2. สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้เอาไปต่อยอดในวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกันได้ค่ะ
3. สามารถนำไปเผยแพร่ให้กับผู้ที่ยังไม่รู้เรื่องทฤษฎีนี้ได้ค่ะ





วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 14 มิถุนายน 2556
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่มเรียน 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.45 เวลาเลิกเรียน 12.20



ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ...

   - อาจารย์สอนเรื่องการทำบล็อกว่า บล็อกทำยังไง และได้ให้เพื่อนทำให้ดูในห้องเรียน
   - ได้รู้เรื่อง ภาษาของเด็กว่าเด็กวัยนี้ต้องสื่อสารโดยใช้ภาษาแบบไหน แล้วภาษาของเด็กจะต้องเป็นยังไง




กิจกรรมระหว่างเรียน



การนำความรู้ไปใช้...

1. สามารถสร้างบล็อกเองได้ เพื่อเวลาออกฝึกสอนจะได้เก็บข้อมูลลงบล็อกไว้ดูได้
2. สามารถนำเรื่องการสร้างบล็อกไปใช้กับวิชาอื่นๆได้
3. สามารถนำภาษาของเด็กไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้