บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 12 กรกฏาคม 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 08.30-12.20 กลุ่มเรียน 101 ห้อง 233
เวลาเข้าสอน 08.30 เวลาเข้าเรียน 08.30 เวลาเลิกเรียน 12.20
- ได้รู้เรื่องเกี่ยวกับนักทฤษฏีต่างๆว่า แต่ละคนมีทฤษฏีเป็นแบบไหนบาง ได้เรียนรู้ทฤษฏีของ สกินเนอร์ ว่า สิ่งแวดล้อมต่างๆนั้นมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก และ เด็กในช่วงปฐมวัยจะให้ความสำคัญต่อสิ่งเร้าและการตอบสนอง ค่ะ
- ได้รู้เกี่ยวกับ ทฤษฏีของ วัตสัน ว่าเป็นทฤษฏีของการวางเงื่อนไขพฤติกรรมเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ และผู้ใหญ่สามารถวางเงื่อนไขให้เด็กได้ เช่น วัตสันได้ทำการทดลองกับเด็ก อายุ 11 เดือน ด้วยการเอากระต่ายน้อยมาให้เด็กเล่น ครั้งแรกเด็กจับเล่นไม่กลัวหรือตกใจเมื่อเห็นกระต่ายน้อย ส่วน ครั้งที่ 2 เขาก็เอากระต่ายมาให้เด็กเล่นอีก แต่ครั้งนี้เวลาเด็กจะจับกระต่าย เขาก็จะตีแผ่นเหล็ก เด็กจะตกใจและร้องไห้ เมื่อเขาทำแบบนี้ไปไม่กี่ครั้ง เด็กก็จะเกิดความกลัวขึ้น เวลากระต่ายเข้ามาใกล้ก็จะร้องไห้ และยังทำให้เด็กกลัวสิ่งต่างๆที่ลักษณะคล้ายกัน เวลาเด็กเห็นสิ่งแบบนั้นก็จะทำให้เด็กกลัวได้ ค่ะ
- ได้รู้เรื่อง กลุ่มของนักพฤติกรรมนิยม ว่ามีใครบ้าง และแต่ละคนมีแนวคิดแบบไหน อย่างเช่น เพียเจย์ บอกไว้ว่า เด็กจะเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และ ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก ค่ะ
- ได้รู้เรื่องของ มุมมองที่มีต่อภาษาในการจัดประสบการณ์ ว่าเป็นแบบไหน แล้วเราควรจะจัดประสบการณ์ทางภาษาให้เด็กปฐมวัยแบบไหนได้บ้าง
- ได้รู้เรื่อง องค์ประกอบของเสียง ว่าเสียงนั้นมีองค์ประกอบออะไรบ้าง
อาจารย์ให้ดูตัวอย่างขององค์ประกอบของเสียงค่ะ เช่น
ภาพนี้เป็นตัวอย่างของ องค์ประกอบเสียง ซ้ายมือจะเป็นการอ่านออกเสียงของบ้านเรา ส่วนขวามือเป็นการอ่านเสียงของ ประเทศลาว
กิจกรรมในห้องเรียน
อาจารย์ให้วาดภาพสิ่งของที่ชอบในสมัยเด็ก และให้อธิบายว่าทำไมถึงชอบสิ่งนี้
สิ่งที่ชอบในสมัยเด็ก คือ ชุดจานชามรูปโดราเอมอน เป็นสิ่่งที่ฉันชอบมากในวัยเด็กจนถึงปัจจุบัน และเป็นสิ่งที่ใช้มาโดยตลอดที่ชอบ เพราะ แม่ซื้อให้ด้วยและเป็นรูปการ์ตูนที่ชอบด้วย ตอนกินข้าวเวลาได้กินด้วยชุดจานชามนี้แล้วจะมีความสุขมาก และทำให้กินข้าวอร่อยขึ้นด้วยค่ะ
1. สามารถนำทฤษฎีต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. สามารถนำแนวคิดของนักทฤษฎีต่างๆ ที่เรียนมา ไปใช้ในการฝึกสอนในอนาคตได้
3. สามารถนำ เรื่อง องค์ประกอบของเสียง ไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ เมื่อออกไปฝึกสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น